รายงานการวิจัยเรื่อง

การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


ชื่อเรื่อง       การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง

ไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร   

ชื่อผู้วิจัย     นางสาวอำพันธ์   เวชสุนทร      นายชัชชัย   ชูแก้ว

ปีที่วิจัย       .ศ. 2564

บทคัดย่อ

          การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร จำนวน 300 คนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าร้อยละ 15 ของประชากร ได้จำนวน  45 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่เข้ามารับบริการฐานการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที

          ผลการศึกษาพบว่า

1. ผู้รับบริการจำนวน 43 คนมีคะแนนทดสอบหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 95.56 มากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ผู้รับบริการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และยังพบอีกว่าความรู้  ความเข้าใจของผู้รับบริการมีคะแนนหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนก่อนทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของผู้รับบริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด โดยด้านความรู้ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านด้านวิทยากร ตามลำดับ

2.1 ด้านสื่อการเรียนรู้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สื่อ อุปกรณ์ มีความทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และเนื้อหาของสื่อสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้.ตามลำดับ

2.2 ด้านวิทยากร ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้. มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การใช้เวลาในการอธิบายและการเปลี่ยนฐานเหมาะสม  ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา และความน่าสนใจของการนำเสนอเนื้อหา  ตามลำดับ

2.3 ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนหรือซักถาม  ตามลำดับ

2.4 ด้านความรู้ที่ได้รับ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สามารถนำไปต่อยอดความรู้และศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเข้าใจเนื้อหาที่วิทยากรอธิบาย นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ และมีความรู้เพิ่มมากขึ้น  ตามลำดับ

3.ข้อมูลความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ผู้รับบริการมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีสื่อที่ทันสมัย รองลงมาได้แก่  ควรมีการฝึกปฏิบัติจริง และควรเปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์สำหรับกลุ่มเล็กๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

 

งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก คุณสุพรรณ  ฐินะกุล  ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ที่ปรึกษางานวิจัย ที่กรุณาให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ  ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง  ผู้วิจัยตระหนักถึง  ความตั้งใจจริงและความทุ่มเทของที่ปรึกษาและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณ  คุณณัฐภัสสร แดงมณี  รองผู้อำนวยการ สถาบัน กศน.ภาคกลาง   และ คุณสมจิตร   เต็นรัมย์  รองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร  ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ  ตลอดจนผู้รับบริการที่มาศึกษาดูงานฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไป ด้วยดี

อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงขอมอบส่วนดี ทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่าคณาจารย์ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาจนทำให้ผลงานวิจัยเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและขอมอบความกตัญญูกตเวทิตาคุณ แด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่าน สำหรับข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยขอน้อมรับผิดเพียง ผู้เดียว และยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำจากทุกท่านที่ได้เข้ามาศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ใน  การพัฒนางานวิจัยต่อไป

 

                                                                                      ผู้วิจัย

 

                                                                                      อำพันธ์   เวชสุนทร

                                                                                          ชัชชัย     ชูแก้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

                                                                                                                                

 

หน้า

บทคัดย่อ………..…………………………………………………………………..…………………..……………

กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………………………………..……….

สารบัญ……………………………………………………………………………………….………………………..

สารบัญตาราง…………………………………………………………………………………………………..……

สารบัญแผนภาพ.................................................................................................................

บทที่ 1

บทนำ……………………………………………………………………………………….………....

1

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………………………...…

1

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย..........………………………………………………….…..…...…

3

 

ขอบเขตของการวิจัย………………………………………….……………………..……..…….

3

 

นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………………….……..

3

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย............……………………….…………...……

4

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย.......………………….…………………………….………….………

4

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………….…

5

 

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้.............................................................

5

 

แนวคิดเกี่ยวกับการทำคู่มือ……………………………………………………………….…….

13

 

แนวคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งไพรงไทย......................................................................

19

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………………………

22

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย……………………………..………………………………………………...…

25

 

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง……………………..……………………………………………..…...…

25

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล…..……………………………………………...…

25

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล...........……………………………………………………………...…

26

 

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล………….……………………

26

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................

28

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ..................................................................

35

 

สรุป……………………………………………………………………….………………………...….

35

 

อภิปรายผล……………………………………………………………………………………………

37

 

ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………….

38

บรรณานุกรม.....................................................................................................................

40

ภาคผนวก………………………………………………………………………………………………..………......

42

 

ก  คำสั่งปฏิบัติงานในฐานการเรียนรู้.................................................................

43

 

ข  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล...................................................................

46

 

สารบัญตาราง

 

ตารางที่

   หน้า

1

ผลการทดสอบระหว่างก่อนและหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้.............................

28

2

เปรียบเทียบคะแนนความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังทำกิจกรรม………………………..

30

3

แสดงจำนวนและค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม................................................

30

4

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย……………………………………………….

31

5

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยด้านสื่อการเรียนรู้....................

32

6

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานเรียนรู้ฐานการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยด้านวิทยากร………………………………

32

7

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานเรียนรู้ฐานการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยด้านบรรยากาศการเรียนรู้……………

33

8.  

แสดงค่าgหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนโดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยด้านความรู้ที่ได้รับ……………………

33

9

แสดงจำนวนและค่าร้อยละข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม...........................

34

       

                                            

                                            

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญตาราง

 

ตารางที่

   หน้า

1

กรอบแนวคิดในการวิจัย..........................................................................................

4

       

 

 

 

บทที่ 1

บทนำ

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

การดำรงชีวิตมนุษย์จะต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้มนุษย์ได้รับปัจจัยพื้นฐาน แต่ขณะเดียวกันการกระทำของมนุษย์เองได้ส่งผลกระทบต่อสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เกษม จันทร์แก้ว. 2553; อ้างถึงใน เกียรติภูมิ จันเต. 2559) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างต่อเนื่องมีความจําเป็นในการนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สนองความต้องการของตนเองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าเป็นเรื่องการใช้พื้นที่ผิวโลกเพื่อผลิตอาหาร ใช้พลังงานและทรัพยากรที่จําเป็น สิ่งเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมมีความเห็นว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในอดีตที่ผ่านมาขาดความระมัดระวังไม่มีความรู้เพียงพอและการใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีแผนการจัดการตลอดจนกระบวนการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหลายประเภท เช่น ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ น้ำมัน และมีการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (วินัย วีระวัฒนานนท์. 2555) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการใช้ทรัพยากรส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร ตั้งแต่ทรัพยากรดินซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพต่างถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ปัญหาน้ำเสีย มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียง และที่สำคัญเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้โลกร้อนขึ้น จะเห็นได้จากภัยพิบัติธรรมชาติ ได้แก่ อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหวซึ่งมีความรุนแรงและความถี่มากยิ่งขึ้น (เกษม จันทร์แก้ว. 2553; อ้างถึงใน เกียรติภูมิ จันเต. 2559)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกและปัจจัยภายในประเทศ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของประชากรการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโต การแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุน ทำให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเกินศักยภาพในการรับรองของระบบนิเวศ ในขณะที่ขีดความสามารถของการบริหารจัดการและเครื่องมือทางนโยบาย เช่น ฐานข้อมูล กฎระเบียบ การบังคับใช้กฎหมายและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นําไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศโดยรวมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ยังคงถูกบุกรุกทำลาย ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพทั้งระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรม นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญมีคุณค่ามากเกินกว่าจะประเมินได้ นอกจากจะช่วยให้มนุษยชาติสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว ยังช่วยเกื้อกูลให้สิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้คนในอดีตได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผึ้งโพรงไทย ซึ่งเป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ซึ่งเลี้ยงโดยเกษตรกรในชนบททั่วไป พบมากในแถบจังหวัดภาคใต้ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ที่เกาะ สมุย นิยมเลี้ยงผึ้งโพรงมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้วิธีสร้างหีบเลี้ยงง่าย ๆ คอยดักหรือย้ายรังผึ้งจากโพรงไม้ในธรรมชาติลงในหีบเลี้ยง และคอยเวลาเก็บน้ำผึ้งในฤดูดอกไม้บาน ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยจึงเริ่มเลี้ยงได้ง่าย และลงทุนน้อยกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในระดับครอบครัว หรือเป็นงานอดิเรก เนื่องจากในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย แทบจะไม่มีต้นทุนในการเลี้ยง  เพียงแต่การทำลังผึ้งเลี้ยงให้อยู่กับเสาที่ปักหลักไว้ในสวนผลไม้ เช่นสวนเงาะ ลองกอง มังคุด ทุเรียน ส้ม เป็นต้น ซึ่งผึ้งโพรงจะให้ผลผลิตน้ำผึ้งตลอดทั้งปี  สามารถสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และสามารถประกอบเป็นอาชีพหลักได้  เพราะน้ำผึ้งให้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เป็นยารักษาโรค เป็นอาหาร เป็นเครื่องดื่ม ฯลฯ นอกจากนี้ขี้ผึ้งยังสามารถแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่นใช้สำหรับทำเครื่องสำอางและ โลชั่นต่าง ๆ และพิษของผึ้งสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่นอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เหน็บชา เป็นต้น

          หากแต่ปัจจุบันการทำเกษตรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีในการทำการเกษตร  ทำให้ประชากรผึ้งมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว  น้ำผึ้งมีคุณภาพลดลงเนื่องจากมีสารปนเปื้อนและสารตกค้างของน้ำผึ้ง อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ยังขาดสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้งยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีฐานการเรียนรู้สำหรับผู้สนใจเข้ามาศึกษาหรือถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เพาะเลี้ยงจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทย ดังนั้น ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ซึ่งมีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงผึ้งโพรงเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น สวนยาง สวนปาล์ม ไม้ผล และ ต้นไม้ป่า บางประเภท จะมี ดอก และ เกสร ที่ผึ้ง สามารถ นำมาเป็นอาหารในการสร้างน้ำผึ้งได้เป็นอย่างดี จึงได้ดำเนินการจัดทำฐานการเรียนรู้อาชีพการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ให้มีความพร้อม ให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้มีเจตคติ และพฤติกรรมการอนุรักษ์ผึ้งโพรงไทยที่ดี  เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของหน่วยงานราชการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มเกษตรที่สนใจภายใต้บรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกระบวนการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 ซึ่งกำหนดไว้ว่า รัฐต้องส่งเสริมการดําเนินงานและการสร้างแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน หอศิลป์ สวนพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แหล่งข้อมูล อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2542) และดำเนินการขยายผลการดำเนินงานฐานการเลี้ยงผึ้งโพรง  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ชายแดน หลังจากได้มีการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นต้นแบบในการสร้างอาชีพ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

การดำเนินงานของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยในบริเวณชายแดนชุมพร ในการจัดทำฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ผู้วิจัยจึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่  ทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลจากการวิจัยนำเสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการให้บริการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

 

ขอบเขตการวิจัย

          ขอบเขตการวิจัย

          1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ตัวแปรต้น  ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ประกอบด้วยการบรรยาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ฝึกปฏิบัติจริง

ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการจัดกิจการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร  จำนวน 400 คน

กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร  จำนวน 45 คน

3. ขอบเขตด้านระยะเวลา

เมษายน - มิถุนายน 2564

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมที่บุคลากรศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยวิธีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม และการจัดทำฐานการเรียนรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสถานศึกษา

2. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมในฐานการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ในที่นี้หมายถึงฐานผึ้งโพรง

3. ความรู้ความเข้าใจ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของผู้รับบริการ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับบริการได้รับความรู้และประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดจากวิทยากร โดยวัดจากผลการทดสอบก่อน-หลังเข้ารับความรู้

4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนรู้  ด้านวิทยากร ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านความรู้ที่ได้รับ

4.1 ด้านสื่อการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ แผ่นพับ ที่ผู้จัดการเรียนรู้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในฐานการเรียนรู้โดยเนื้อหาของสื่อสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้ สื่อมีความทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ

4.2 ด้านวิทยากร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ โดยวิทยากรต้องมีความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหามีความน่าสนใจ เหมาะสม รวมถึงการใช้เวลาในการอธิบายและการเปลี่ยนฐานเหมาะสม

4.3 ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนหรือซักถาม

4.4 ด้านความรู้ที่ได้รับ หมายถึง สิ่งที่ผู้รับบริการได้รับจากฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ความเข้าใจเนื้อหาที่วิทยากรอธิบาย มีความรู้เพิ่มมากขึ้น นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ และสามารถนำไปต่อยอดความรู้และศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้

5. ผู้รับบริการ หมายถึง ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานฐานการเรียนรู้ของ ศฝช.ชุมพร

6. ศฝช.ชุมพร หมายถึง ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทราบถึงผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

2. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ซึ่งผู้วิจัยกำหนดกรอบแนวคิดไว้ดังนี้

          ตัวแปรต้น                                                        ตัวแปรตาม

 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานก







ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

120/2 หมู่ 10 ตำบลหาดพันไกร
อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000

cpn_sfcedc@nfe.go.th
077-510716