รายงานการวิจัยเรื่อง

การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

 

                             

                                                                                        

 

 

                                                                 

 

 

 

นางกรกนก  เพชรสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

 

ชื่อเรื่อง    การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

ชื่อผู้วิจัย   นางกรกนก  เพชรสงฆ์

ปีที่วิจัย     2564

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร จำนวน  300  คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร  ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าร้อยละ 15 ของประชากร ได้จำนวน  45 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่เข้ามารับบริการฐานการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย . ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติค่าที

 

ผลการศึกษาพบว่า

          1.ผู้รับบริการ มีคะแนนทดสอบหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟ จำนวน 39  คน คิดเป็นร้อยละ  86.67  มากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ผู้รับบริการ ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องของ กาแฟ และยังพบอีกว่า ผู้รับบริการมีคะแนนหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟสูงกว่าคะแนนก่อนทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ กาแฟ ของผู้รับบริการโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  โดย ด้านความรู้ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนรู้ด้านวิทยากร และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า

2.1 ด้านสื่อการเรียนรู้ ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของผู้รับบริการ     โดยภาพรวมมี ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สื่อ อุปกรณ์ มีความทันสมัย เหมาะสมเพียงพอ   มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ เนื้อหาของสื่อสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้  ตามลำดับ

2.2 ด้านวิทยากร ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของผู้รับบริการ   โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้  การใช้เวลาในการอธิบายและการเปลี่ยนฐานเหมาะสม ส่วนความน่าสนใจของการนำเสนอเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด  ตามลำดับ    

2.3 ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของผู้รับบริการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด   เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนหรือซักถามมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมของผู้เรียน

2.4 ด้านความรู้ที่ได้รับ ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของผู้รับบริการ โดยภาพรวมมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด   เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเข้าใจเนื้อหาที่วิทยากรอธิบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ มีความรู้เพิ่มมากขึ้น  นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ส่วนการนำไปต่อยอดความรู้และศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด    ตามลำดับ

3. ผู้รับบริการมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีสื่อที่ทันสมัย รองลงมาได้แก่ ควรมีฐานการเรียนรู้ด้านการทำอาหาร ควรมีการฝึกปฏิบัติจริง และควรเปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์สำหรับกลุ่มเล็กๆ ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

 

งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก คุณสุพรรณ
 ฐินะกุล ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ที่ปรึกษางานวิจัย ที่กรุณาให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง ผู้วิจัยตระหนักถึง ความตั้งใจจริงและความทุ่มเทของที่ปรึกษาและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณ คุณณัฐภัสสร แดงมณี รองผู้อำนวยการ กศน.ภาคกลาง  และคุณสมจิตร เต็นรัมย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตลอดจนนักศึกษาที่มาศึกษาดูงานฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
จนทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไป ด้วยดี อนึ่ง ผู้วิจัยหวังว่า งานวิจัยฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย

จึงขอมอบส่วนดี ทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่าคณาจารย์ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาจนทำให้ผู้งานวิจัยเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและขอมอบความกตัญญูกตเวทิตาคุณ แด่บิดา มารดา และผู้มี พระคุณทุกท่าน สำหรับข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยขอน้อมรับผิดเพียง ผู้เดียว และยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำจากทุกท่านที่ได้เข้ามาศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยต่อไป

 

 

 

 

 

                                                                                      ผู้วิจัย

 

                                                                                     นางกรกนก  เพชรสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

      หน้า

บทคัดย่อ…………………………………………………………………………………………………………………

กิตติกรรมประกาศ……………………………………………………………………………………………………

สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………..

สารบัญตาราง…………………………………………………………………………………………………………

สารบัญภาพ……………………………………………………………………………………………………………

บทที่  1

บทนำ………………………………………………………………………………………………

1

 

ความเป็นมาและความสำคัญปัญหา…………………………………………………….

1

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………………..

3

 

ขอบเขตการวิจัย………………………………………………………………………………

3

 

นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………………………………………………

3

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………………………….

4

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………………………..

4

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………

5

 

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้หรือฐานการเรียนรู้……………………..

5

 

แนวคิดเกี่ยวกับการทำคู่มือ…………………………………………………………………

13

 

แนวคิดเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้กาแฟ..........................................................

19

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.....................................................................................

31

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย…………………………………………………………………………

33

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………………………………

33

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………

33

 

วิธีการเก็บข้อมูล………………………………………………………………………………..

34

 

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล…………………………..

34

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………………….

35

 

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล……………………………………………………..

35

 

ลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………………

35

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………………..

35

บทที่ 5

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ ………………………………………………………..

42

 

สรุป………………………………………………………………………………………………..

42

 

อภิปราย…………………………………………………………………………………………..

42

 

ข้อเสนอแนะ…………………………………………………………………………………….

42

บรรณานุกรม

46

ภาคผนวก

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

48

49

สารบัญตาราง

 

  ตารางที่                                                                                              หน้า

1

แสดงผลการทดสอบระหว่างก่อนและหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟ.........

35

2

เปรียบเทียบคะแนนผลความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟ...........................................................................................................

35

3

แสดงจำนวนและค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม.............................................

37

4

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ กาแฟโดยรวม........................................................

38

5

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ กาแฟ ด้านสื่อ......................................................

39

6

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ฐานกาแฟ ด้านวิทยากร.......................................

39

7

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ฐานกาแฟ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้...................

40

8

แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ ฐานกาแฟ  ด้านความรู้ที่ได้รับ............................

40

9

แสดงจำนวนและค่าร้อยละข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม.........................

41

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญภาพ

 

      แผ่นภาพที่                                                                                        หน้า

1

กรอบแนวคิดในการวิจัย

4

2

การเตรียมต้นกล้า

22

3

การเตรียมพื้นที่

23

4

การขุดหลุมปลูกกาแฟ                                                               

23

5

การผสมดิน

24

6

การปลูกกาแฟ

24

7

การใส่ปุ๋ย

25

8

การคุมโคน

25

9

การตัดแต่งกิ่งแบบเปิดข้าง

26

10

การตัดจนเหลือแต่ตอ

26

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                             

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

          จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นไปที่การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ (English for All)   ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย หลักสูตร BUDDY โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์สินค้าออนไลน์ระดับตำบล  ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บ ชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ และแรงงานต่างด้าว) รวมทั้งการพัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเป็นขั้นตอน  พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีศูนย์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรระดับจังหวัดทั่วประเทศ (นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ, 2564 )

          ส่วนนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2564  ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้  ข้อ 1.4 การศึกษาตามอัธยาศัย มีนโยบายในการพัฒนาแหล่งการเรียนรูที่มีบรรยากาศและสภาพแวดลอมที่เอื้อตอการอ่านและพัฒนาศักยภาพ การเรียนรูให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การพัฒนา กศน. ตำบล หองสมุด ประชาชนทุกแหงให้มีการบริการที่ทันสมัย สงเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสงเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่าย สงเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการหองสมุดเคลื่อนที่ หองสมุดชาวตลาด พรอมหนังสือและอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรม สงเสริมการอ่านและการเรียนรูที่หลากหลายให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้ง เสริมสร้างความพรอมในด้านบุคลากร สื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างหลากหลายรูปแบบ  (สำนักงาน กศน. สำนักปลัดกระทรงศึกษาธิการ,2564)

          ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร จึงดำเนินการขยายแหล่งเรียนรู้ รวบรวมข้อมูล ความรู้ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชาชนได้นำไปปฏิบัติ การปลูกกาแฟ ตามหลักเกษตรธรรมชาติ และแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นหรือคนในชุมชน เพื่อพัฒนาให้แหล่งการเรียนรู้สามารถตอบสนองกับความต้องการของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้การประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ กว้างขวางและเป็นรูปธรรม ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักงาน กศน. ตามเป้าหมายของหน่วยงาน และเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรของหน่วยงานให้มีองค์ความรู้ที่ชัดเจน

กาแฟถือเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ และมีมูลค่าการค้าขายสูงเป็นอันดับสองของโลก ในประเทศไทยกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศประมาณ 271,992 ไร่ ผลผลิตรวม 26,089 ตัน ประมาณร้อยละ 80 เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า มีพื้นที่ปลูกมากในภาคใต้ อาทิ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช อีกประมาณร้อยละ 20 เป็นพันธุ์อาราบิก้า ปลูกมากในภาคเหนือ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกาแฟโรบัสต้า เนื่องจากสามารถต้านทานโรคราสนิม ทนต่อสภาพอากาศ และผลผลิตสูง มีการยอมรับจากนานาชาติอย่างกว้างขวางในตลาดส่งออกของไทย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)  จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งปลูกกาแฟโรบัสต้าแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูก 129,829 ไร่ คิดเป็น ประมาณร้อยละ 69 ของพื้นที่ปลูกในภาคใต้ โดยมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่าแซะ อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ อำเภอปะทิว อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก และอำเภอละแม ซึ่งอำเภอท่าแซะเป็นอำเภอที่มีการปลูกกาแฟโรบัสต้ามากที่สุด (สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร, 2558) แต่ในช่วงที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกมีแนวโน้มลดลง ขณะที่โรงงานแปรรูปกาแฟในประเทศไทยมีความต้องการเมล็ดกาแฟในปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2555-2558 จาก 67,620 70,000 75,000 และ 80,000 ตัน/ปี เพิ่มขึ้นตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)   ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีประชากรโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพทำสวนกาแฟโรบัสต้า โดยการปลูกกาแฟโรบัสต้ามากที่สุด 62,939 ไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปลูกในอำเภอท่าแซะ(สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร, 2558) เนื่องจากมีสภาพอากาศ สภาพดิน และลักษณะพื้นที่เหมาะสม แก่การปลูกกาแฟโรบัสต้า แต่ในการปลูกกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรมักประสบปัญหาต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยการจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟโรบัสต้า และประสบปัญหาโรคแมลงระบาดมีการใช้สารเคมี ทำให้ คุณภาพและปริมาณผลผลิตกาแฟโรบัสต้าลดลง

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพรได้ดำเนินการขยายผลการปลูกกาแฟเกษตรธรรมชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ชายแดน หลังจากได้มีการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร โดยได้ดำเนินการจัดทำแหล่งเรียนรู้ การปลูกกาแฟ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร เพื่อเป็นศูนย์สาธิตและถ่ายทอดให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดนที่ทำอาชีพทางด้านการเกษตร และประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้กาแฟของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร

 

ขอบเขตการวิจัย

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการปฏิบัติจริง การบรรยาย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสาธิตการแปรรูป

ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ประกอบด้วย  ความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ

2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับบริการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร จำนวน 300  คน

กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้รับบริการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร จำนวน   45  คน

3. ขอบเขตด้านระยะเวลา

เดือน เมษายน – เดือนมิถุนายน  2564

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมที่บุคลากรของ ศฝช.ชุมพร ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการถ่านทอดให้กับบุคลอื่น อย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยวิธีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม และการจัดทำฐานเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสถานศึกษา

2. กิจกรรมเป็นฐาน  หมายถึง การจัดกิจกรรมในฐานการเรียนรู้ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ในที่นี้หมายถึงฐาน กาแฟ ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักๆ ได้แก่  การจัดกิจกรรมการปฏิบัติจริง การบรรยาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตการแปรรูป

3. ความรู้ ความเข้าใจ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของผู้รับบริการ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดจากวิทยากร โดยวัดจากผลการทดสอบก่อน-หลังเข้ารับความรู้

4. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนชุมพร ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนรู้  ด้านวิทยากร ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านความรู้ที่ได้รับ

4.1 ด้านสื่อการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ แผ่นพับ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในฐานการเรียนรู้โดยเนื้อหาของสื่อสอดคล้องกับฐานการเรียนรู้ สื่อมีความทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ

4.2 ด้านวิทยากร หมายถึง ผู้ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ โดยวิทยากรต้องมีความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหามีความน่าสนใจ เหมาะสม รวมถึงการใช้เวลาในการอธิบายและการเปลี่ยนฐานเหมาะสม

4.3 ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการได้แลกเปลี่ยนหรือซักถาม

4.4 ด้านความรู้ที่ได้รับ หมายถึง สิ่งที่ผู้รับบริการได้รับจากฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ความเข้าใจเนื้อหาที่วิทยากรอธิบาย มีความรู้เพิ่มมากขึ้น นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ และสามารถนำไปต่อยอดความรู้และ